วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทั่วไป

งานอดิเรก

กิจกรรมระหว่างเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รายงานตัวค่ะ

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำ e-commerce

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
1. แต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมดูแล (Committee) ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกนหลัก
2. วิจัยตลาด (Market Research) โดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
3. กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Market Target) ที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน
4. วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธิ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานอีคอมเมอร์ซที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ
5. ทำการ พัฒนาเว็บเพจ (Webpage Developing) ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ
6. ติดตั้ง ระบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce System) เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration) (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าจะเอาชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
8. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน (Evaluation) เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
9. เฝ้าดูแล (Monitor) และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน


ประโยชน์ของ e-commerce

Online Marketing เป็นช่องทางดำเนินธุรกิจอีกทางหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก Internetเป็นทั้งเครื่องมือการค้า ช่องทางการจำหน่าย และ ช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ได้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น E-Commerceจึงได้พลิกโฉมรูปแบบการค้า และ เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา
ดังนั้น เราจึงไม่ควรมองข้ามตลาดออนไลน์ หรือ E-Commereceดังกล่าวไปได้เลย เพราะสังคมออนไลน์เติบโตขึ้นทุกวัน การทำงานในรูปแบบ Work at Home ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งกลุ่มคนออนไลน์เหล่านี้ จะนิยมใช้บริการออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่น online banking,ซื้อของออนไลน์, chat, หาเพื่อน, หาคู่เดทออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมของสังคมออนไลน์ดังกล่าว สามารถเพิ่มโอกาสทำรายได้ให้แก่ผู้ทำ E-Commerceได้อย่างมากเลยทีเดียว
สินค้าที่นิยมนำมา ทำธุรกิจ E-Commerceส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อรู้จักอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกที่ เช่น หนังสือ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ดอกไม้ เครื่องประดับ เพลง videogame ซอฟต์แวร์ ข้อมูลจากซีดีรอม เป็นต้น

ข้อดีของการทำ E-Commerce นั้น ช่วยทำให้ผู้ประกอบการ ประหยัดกว่า การทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่ต้องส่ง catalogue ไปให้ลูกค้าเลือกซื้อ หรือ เสียค่าเช่าเปิดบูธแสดงสินค้าในงาน trade show ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตสินค้า

ถ้า สร้างเว็บไซต์ E-Commerceบนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำเป็นบู๊ธแสดงสินค้าถาวร ที่ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce

หากเราไม่อยากจะ สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะจ้าง บริษัทรับออกแบบเว็บ E-Commerce ช่วย สร้างเว็บไซต์ และ ดูแลเว็บไซต์ ตลอดอายุการใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ และ เป็นการง่ายต่อผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ ซึ่ง บริการออกแบบเว็บอีคอมเมิร์ซ นี้ ClickBKK เปิดให้บริการอยู่

การทำ E-Commerceเป็นการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อธุรกิจกันเลย ง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้ง่ายมาก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถ ดำเนินธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)


แหล่งที่มา : http://thaiall.com/article/ecommerce.htm#monthly
free counters