วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำ e-commerce

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
1. แต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมดูแล (Committee) ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกนหลัก
2. วิจัยตลาด (Market Research) โดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
3. กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Market Target) ที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน
4. วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธิ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานอีคอมเมอร์ซที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ
5. ทำการ พัฒนาเว็บเพจ (Webpage Developing) ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ
6. ติดตั้ง ระบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce System) เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration) (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าจะเอาชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
8. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน (Evaluation) เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
9. เฝ้าดูแล (Monitor) และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน


ประโยชน์ของ e-commerce

Online Marketing เป็นช่องทางดำเนินธุรกิจอีกทางหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก Internetเป็นทั้งเครื่องมือการค้า ช่องทางการจำหน่าย และ ช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ได้อย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น E-Commerceจึงได้พลิกโฉมรูปแบบการค้า และ เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา
ดังนั้น เราจึงไม่ควรมองข้ามตลาดออนไลน์ หรือ E-Commereceดังกล่าวไปได้เลย เพราะสังคมออนไลน์เติบโตขึ้นทุกวัน การทำงานในรูปแบบ Work at Home ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งกลุ่มคนออนไลน์เหล่านี้ จะนิยมใช้บริการออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่น online banking,ซื้อของออนไลน์, chat, หาเพื่อน, หาคู่เดทออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมของสังคมออนไลน์ดังกล่าว สามารถเพิ่มโอกาสทำรายได้ให้แก่ผู้ทำ E-Commerceได้อย่างมากเลยทีเดียว
สินค้าที่นิยมนำมา ทำธุรกิจ E-Commerceส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อรู้จักอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกที่ เช่น หนังสือ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ดอกไม้ เครื่องประดับ เพลง videogame ซอฟต์แวร์ ข้อมูลจากซีดีรอม เป็นต้น

ข้อดีของการทำ E-Commerce นั้น ช่วยทำให้ผู้ประกอบการ ประหยัดกว่า การทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่ต้องส่ง catalogue ไปให้ลูกค้าเลือกซื้อ หรือ เสียค่าเช่าเปิดบูธแสดงสินค้าในงาน trade show ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตสินค้า

ถ้า สร้างเว็บไซต์ E-Commerceบนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำเป็นบู๊ธแสดงสินค้าถาวร ที่ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce

หากเราไม่อยากจะ สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะจ้าง บริษัทรับออกแบบเว็บ E-Commerce ช่วย สร้างเว็บไซต์ และ ดูแลเว็บไซต์ ตลอดอายุการใช้งานได้ ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ และ เป็นการง่ายต่อผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ ซึ่ง บริการออกแบบเว็บอีคอมเมิร์ซ นี้ ClickBKK เปิดให้บริการอยู่

การทำ E-Commerceเป็นการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อธุรกิจกันเลย ง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้ง่ายมาก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถ ดำเนินธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)


แหล่งที่มา : http://thaiall.com/article/ecommerce.htm#monthly

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

การจัดงานปีใหม่ 2553


เที่ยวทั่วโลกช่วงปีใหม่ กับ แสง สี เสียง 3 มิติ วันจัดงาน : ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 2 มกราคม 2553 เวลา 19.00-21.00 น. สถานที่จัดงาน : บริเวณลานน้ำพุ ด้านนอกของคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร
โชว์แสง สี เสียง 3 มิติ ในคอนเซปต์ The Enchanted Voyage of the World ที่โดดเด่นด้วยเทคนิค interactive ครั้งแรกของเมืองไทย ไฮไลท์เด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่การพาผู้ชมโลดแล่นไปสู่โลกแห่งจินตนาการ เดินทางท่องไปยังสถานที่ต่างๆ ตามเส้นทางธรรมชาติอันเลื่องชื่อในทั่วทุกมุมโลก มากกว่า 20 เส้นทาง
กิจกรรมนับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 ย่านราชประสงค์ @Central Worldระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ในเขตกรุงเทพมหานคร

ขอพรช้างเอราวัณ สุขสันต์ Countdown 2010วันจัดงาน : 31 ธันวาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไปสถานที่จัดงาน : พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จ.สมุทรปราการ
ชมการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง, ลิเกพื้นบ้าน, การแสดงมายากล, chill out กับดนตรีในสวนบรรยากาศ Winter Love Song, เลือกซื้อสินค้ามากมายบนถนนคนเดิน, ดูงานศิลปะฝีมืออาร์ตติส เมืองปากน้ำ พิเศษสุด… หางบัตรชิงของรางวัลและเงินสดรวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท

แอ่วเหนือ-ขึ้นอีสาน-ล่องใต้ ไปเคาท์ดาวน์ปีใหม่แบบอินเทรนด์ เทศกาลปีใหม่นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ที่หลายๆ ครอบครัวเฝ้ารอเพื่อจะข้ามคืนสุดท้ายของปีเก่า เข้าสู่ศักราชใหม่ไปอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน และคงจะดีไม่น้อย หากได้เปลี่ยนบรรยากาศไป countdown ในสถานที่ท่องเที่ยวแปลกใหม่ ร่วมกับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท พร้อมทั้งสูดอากาศเย็นสดชื่นให้ฉ่ำปอด ผ่อนคลายสายตาจากความเหนื่อยล้ามาตลอดปีกับธรรมชาติเขียวขจีและบริสุทธิ์ ท่ามกลางขุนเขาในภาคเหนือ - อีสาน หรือจะเยือนถิ่นตะวันออก - ล่องแดนใต้ หลบความวุ่นวายไปติดเกาะ แหวกว่ายทักทายฝูงปลา-ปะการัง และพักผ่อนบนชายหาดสวยงามอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ก็ถือว่าเป็นไอเดียเคาท์ดาวน์ที่เก๋ไก๋ไปอีกแบบ โอกาสนี้ เราขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติฮอตฮิตทั่วไทย ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปฉลองปีใหม่กันมากที่สุด 10 อันดับ
1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ 2. ปาย แม่ฮ่องสอน 3. ภูชี้ฟ้า เชียงราย 4. ผาแต้ม อุบลราชธานี 5. มอหินขาว ชัยภูมิ (1 ในแคมเปญ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน) 6. เขาใหญ่ นครราชสีมา 7. หมู่เกาะช้าง เกาะกูด ตราด 8. เกาะทะลุ ประจวบคีรีขันธ์ 9. เกาะสมุย เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี 10. หมู่เกาะตะรุเตา หมู่เกาะอาดัง-ราวี สตูล

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 ในอีกหลายจังหวัดทั่วไทย อาทิเช่น
งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ วันจัดงาน : 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 สถานที่จัดงาน : ถนนท่าแพตลอดสายและบริเวณช่วงประตูท่าแพ และ Think Park สี่แยกรินคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นครราชสีมาวันจัดงาน : 25 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 สถานที่จัดงาน : อำเภอปากช่อง และอำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา
Korat Countdown 2010วันจัดงาน : 25 ธันวาคม 2552 - 2 มกราคม 2553สถานที่จัดงาน : ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
งานรับตะวันใหม่ ก่อนใครในสยาม และ อุบลราชธานี เคาท์ดาวน์ 2010วันจัดงาน : 1 ธันวาคม 2552 - 31 มกราคม 2553 สถานที่จัดงาน : บริเวณเวทีกลาง ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown 2010)วันจัดงาน : 25 - 31 ธันวาคม 2552สถานที่จัดงาน : ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่เมืองหัวหินวันจัดงาน : 25 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553สถานที่จัดงาน : ศูนย์การค้าหัวหินมาร์เก็ตวิลเล็จ ประจวบคีรีขันธ์
งานสีสันความสุขปีใหม่ภูเก็ต 2553 (Colorful Phuket Countdown 2010)วันจัดงาน : 25 - 31 ธันวาคม 2552 เวลา 18.30 - 24.00 น.สถานที่จัดงาน : วงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา) ภูเก็ต
Night Paradise Hatyai Countdown 2010วันจัดงาน : 29 - 31 ธันวาคม 2552สถานที่จัดงาน : ใจกลางเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา
ฟังดนตรี และ Countdown to New Year @ บูติก ราฟท์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท วันจัดงาน : 31 ธันวาคม 2552สถานที่จัดงาน : Boutique Raft Riverkwai อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
งานมหกรรมอาหาร และงานต้อนรับปีใหม่ จังหวัดพิษณุโลก วันจัดงาน : 25 ธันวาคม 2552- 1 มกราคม 2553 สถานที่จัดงาน : บริเวณสวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.พิษณุโลก


แหล่งที่มา :
http://travel.mthai.com/view/40550.travel

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่1มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1.การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2.การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3.การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

แหล่งที่มา :http://www.zabzaa.com/event/newyear.htm

ปีใหม่


แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=bE9Gwi5eDrQ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาวันครู

ความหมาย ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ความเป็นมา วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

แหล่งที่มา : http://webboard.yenta4.com/topic/203476

การจัดงานวันครู

การจัดงานวันครู

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา)พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

แหล่งที่มา :http://webboard.yenta4.com/topic/203476


มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1.เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5.ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู

ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

คุณสมบัติของครูที่ดี

1. ประพฤติตัวให้เป็นที่รัก (ปิโย)
2. มีใจหนักแน่นทำตนให้น่ายำเกรง (ครุ)
3. อบรมตนเองสม่ำเสมอ (ภาวนีโย)
4. ฉลาดสอน ฉลาดพูด (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน (วจนกฺขโม)
6. พูดเรื่องลึกซึ้งให้เข้าใจลึกซึ้งได้ (คมฺภีรํ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย (โน จฎฺฐาเน นิโยชเย)

แหล่งที่มา :http://webboard.yenta4.com/topic/203476




ประโยชน์ต่อสังคม

นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

๑.เลื่อมใสการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๒.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
๓.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
๔. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
๕.ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงาน โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
๖.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพรางไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
๗.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนและไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
๘.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
๙.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
๑๐. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน



แหล่งที่มา : http://webboard.yenta4.com/topic/203476

พระคุณที่สาม

แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=PRbDAlU6wY0&feature=related

ชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือ

ชนเผ่าอาข่า-ตำนานชนเผ่าอาข่า
ตามตำนานการเล่าขานมาของชนเผ่าอ่าข่า ปากต่อปากคนต่อคน มายาวนานกว่า 60 ชั่วอายุคน เพื่อเป็นการสืบหาต้นตระกุลว่าเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งชนเผ่าอ่าข่าเรียกว่า จึ เล่าขานกันว่า อู่มะ , อู่ว้อง , ว้องยอก , ยอกยือ , ยือโท , โทมา , มายอ , ย่อแน่ , แน่แป , แปซุ้ม , ซุ้มมีโอ ฯลฯ อ่าข่ามีความเชื่อว่าก่อนมาถึงซุ้มมีโอ นั้นเป็นทุกสิ่งที่ปรากฏในจักรวาล เช่น ลม ฟ้า อากาศ ฯลฯ ทุกสิ่งพูดได้ และหลังจากซุ้มมีโอก็มีสองอย่างคือผีและคน ซึ่งมีแม่เป็นคนเดียว เชื่อว่ามนุษย์เรามีหน้าอกกว้าง 7 ศอก เกิดออกมาพูดได้เดินได้ และมีมนุษย์คนหนึ่งที่มีภรรยาท้องแก่จวนจะคลอด ผู้เป็นสามีได้ไปหาไม้เพื่อมาทำเป็นครกกระเดื่อง ระหว่างที่ไปนั้นภรรยาได้คลอดลูกชายออกมา เมื่อคลอดออกมาลูกจึงถามแม่ว่าพ่อไปไหน แม่จึงตอบไปว่าไปเอาครกกระเดื่องในป่า ลูกจึงเดินทางไปตามหาพ่อในป่า พอไปถึงก็เจอพ่อกำลังโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่ และไม้ล้มไปทับลูกชาย กิ่งไม้แทงบริเวณหัวไหล่ ลูกจึงตะโกนบอกพ่อว่าหนามแทงที่หัวไหล่ พ่อจึงใช้ขวานฟันเอากิ่งไม้ที่หัวไหลออก ทำให้มนุษย์เราตัวเล็กลงตั้งแต่บัดนั้นมา เพราะอุบัติเหตุถูกต้นไม้ทับ หลังซุ้มมีโอ , โอ โทเล , โท่เล จุม , จุมมอ แย , มอแย จา , จาทื่อสี่ , ที่สี่ ลี้ , ลี้ภู แบ , ภูแบ อู , อูโย ย่า , โยย่า ช่อ , ช่อมอ โอ๊ะ , มอโอ๊ะ เจ่ , เจ่ เท่อ เพอะ , เท่อ เพอะ ม้อ , เท่อเพอะม้อถือว่าเป็นอ่าข่าคนแรก ส่วน เจ่ เท่อ เพอะ คือเป็นแม่รวมของผีและคน และเป็นแหล่งเกิดศาสนาต่างๆบนโลก ซึ่งอ่าข่าเรียกว่า อะมา มาตะ ซึ่งแยกคำได้ดังนี้ อะมา แปลว่าแม่ มาตะ แปลว่าร่วมกัน ความหมายคือ แม่ร่วมของคนและผี มีลักษณะข้างหลังมีนม 9 เต้า เอาไว้สำหรับผี ด้านหน้าอกมี 2 เต้าสำหรับมนุษย์ มนุษย์เราจึงมีเพียงแค่สองเต้านมเท่านั้น ช่วงที่ผีและคนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ให้ผีทำงานกลางคืน แล้วให้มนุษย์นอน กลางวันมนุษย์ทำงาน ให้ผีนอน เสือกับควายอยู่ด้วยกัน นกอินทรีย์กับไก่อยู่ด้วยกัน ดำเนินชีวิตอย่างนี้มาตลอด
จนมาถึงอะมามาตะได้เสียชีวิตลง ผีกับมนุษย์ก็ได้เลาะกัน นกอินทรีย์กับไก่แยกกันอยู่ ควายกับเสือไม่ถูกกัน สาเหตุที่ทะเลาะกันเพราะไม่สามารถทำพิธีร่วมกันได้ระหว่างผีกับมนุษย์ เพราะผีกับมนุษย์มีความแตกต่างกัน เช่น ผีนอนกลางวัน ส่วนมนุษย์นอนกลางคืน เมื่ออะมามาตะได้เสียชีวิตในเวลากลางวัน ผีกำลังนอนหลับอยู่ อะมามาตะได้หันนม 9 เต้า มาทางมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มีนม 9 เต้า มนุษย์เราจึงหันข้าง 9 เต้าไปทางผี เพราะไม่อยากได้นม 9 เต้า ผีจึงได้นม 9 เต้า จึงมีความเชื่อว่าผีมีนม 9 เต้า ได้จัดพิธีกรรมให้อะมามาตะ โดยเชิญพี้มาของผีชื่อว่า ยา โล เบ เช้ ได้ไปหาสัตว์ทุกชนิดที่มีครรภ์มา และสัตว์ได้แหกคอกหนี เหลือแต่ หมี กระลอก กึโห ( เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกระลอก มีขนาดเท่าแมว ) อ่าข่าเมื่อไปล่าสัตว์ได้สัตว์ดังกล่าวมาและมีครรภ์นำมากินไม่ได้เด็ดขาด เพราะมีความเชื่อว่านั้นคือสัตว์ที่ผีใช้ในการประกอบพิธีกรรมให้อะมามาตะ เมื่อพี้มาของผีท่องไป อะมามาตะก็ลุกขึ้นมาแล้วพูดว่า ไปไม่ได้ หนทางยาก ( หมายถึงท่องบทสวดแล้วพาวิญญาณไปถึงสวรรค์ไม่ได้ ) ท่องอยู่ด้วยกัน 3 คืน ก็ส่งวิญญาณไม่ได้ จึงได้เชิญพี้มาของมนุษย์มาท่องต่อ ชื่อว่าพี้มา ยา แม อะห่อง ซึ่งเป็นพี้มาคนแรกของอ่าข่าและคนแรกของโลก เมื่อพี้มาของมนุษย์ท่องบทสวดไปได้ 1-2 คืน อะมามาตะก็ลุกขึ้นมาแล้วกล่าวว่า ไปยังไม่ได้ ไปได้แค่ครึ่งเดียว เมื่อท่องถึงคืนที่ 3 ซึ่งเป็นคืนสุดท้าย เมื่อจบบทสวดอะมามาตะก็สิ้นใจตายทันที และต้นกำเนิดพิธีกรรมต่างๆ จึงเกิดจากตรงนี้ สืบทอดกันมาอย่างเคร่งครัดจนถึงปัจจุบัน หลังจากอะมามาตะได้สิ้นใจตาย ผีกับคนก็ยังอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ชื่อบ้านว่า ดา โก๊ะ ดากะ แต่เริ่มทะเลาะกันหนักขึ้น เนื่องจากต่างฝ่ายต่างอยากแยกไปอยู่กันอย่างเอกเทศ จึงกล่าวโทษซึ่งกันแล้วกันว่า มนุษย์อยู่บ้านผีไปทำงานกลับมาก็กล่าวโทษมนุษย์ว่าขโมยไข่ผี ผีไปไร่คนก็กล่าวโทษผีว่าขโมยแตง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีใครขโมยกัน เมื่อกล่าวหาซึ่งกันและกันหนักขึ้น มนุษย์กับผีก็อยู่ในครอบครัวเดียวกันไม่ได้ ก็เลยสาบานกันและให้มีการแบ่งเขต ต่างฝ่ายต่างจะไม่เห็นกัน และไม่ไปล้ำเขตซึ่งกันและกัน แบ่งกลางคืนให้ผี กลางวันให้มนุษย์ จึงได้ทำพิธีกรรมแยกจากกัน โดยให้คนปิดหน้าและหันหลังให้ผี ผียืนมองคน เอากระด้งปิดหน้าสุนัข อ่าข่าจึงมีความเชื่อว่าเวลาสุนัขหอน หรือเห่า เพราะว่าเห็นผีอย่างลางๆ มองจากรูกระด้ง และเชื่อว่าผีเห็นคน แต่คนไม่เห็นผี นอกจากขวัญอ่อน เวลาเจอผีหลอก
อ่าข่าจึงนิยมเอาคำสาบานของผีกับคนที่ว่าจะไม่ล้ำเขตซึ่งกันและ กันมาเป็นคาถามในการทวงถามผี และเชื่อว่าผีกลัวน้ำลายคนมาก เพราะน้ำลายคนถ้าถูกผี ผีตัวนั้นจะเป็นโรคเรื้อน เวลาเจอเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ อ่าข่าจึงมีวัฒนธรรมคือต้องคายน้ำลายทิ้งเพื่อให้ผีกลัว

ที่มา:มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org ชนเผ่าอาข่า-ตำนานชนเผ่าอาข่า

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

อาชีพของคนภาคเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น
แหล่งที่มา : http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

วิธีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนล้านนา

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก


แหล่งที่มา : http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

การแต่งกาย ภาคเหนือ

การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3.ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

แหล่งที่มา : http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/nort.html

อาหาร ภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง
ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม


แหล่งที่มา : http://student.swu.ac.th/sc481010115/north.htm

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาภาคเหนือ

ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวนซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน
(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)
ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ


แหล่งที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/page1.htm

เมืองโบราณเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย

สถานที่ตั้ง เมืองโบราณเวียงกาหลงตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยดงในเทือกเขาดอยหลวง ในเขตบ้านป่าส้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายประวัติความเป็นมาเมืองโบราณเวียงกาหลง ไม่ปรากฎหลักฐานการอยู่อาศัย หรือร่องรอยของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งในเมืองและรอบเมือง จึงสันนิษฐานว่าจุดมุ่งหมายในการสร้างเมืองมีดังต่อไปนี้๑. เพื่อเป็นเมืองศูนย์กลางในการควบคุมชุมชนที่ผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในกลุ่มเตาเวียงกาหลง๒. เพื่อเป็นเมืองสำรองสำหรับการอพยพหนีภัยน้ำท่วม ของชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณนั้น๓.เพื่อเป็นที่ตั้งค่ายทำสงคราม เนื่องจากรอบเมืองมีกำแพงเมืองและคูเมืองที่ลึกและกว้างมาก ส่วนทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน ซึ่งข้าศึกเข้าโจมตีได้ยากลักษณะทั่วไปเมืองโบราณเวียงกาหลงเป็นผังเมืองที่ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิตเช่นเดียวกับเมืองโบราณส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา มีกำแพงคันดินและคูเมืองล้อมรอบ แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่หนึ่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัสมุมมน มีคูเมืองอยู่ระหว่างกำแพงคันดินสองชั้น แบ่งพื้นที่ภายในเมืองออกเป็นหลายส่วน มีส่วนกำแพงคันดินถูกตัดขาดออกเป็นทางเดินหลายแห่งลักษณะคล้ายประตูเมืองส่วนที่สอง เป็นรูปรียาวต่อจากส่วนที่หนึ่งขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวเทือกเขา กำแพงคันดินสองชั้นขนาบคูเมืองอยู่ตรงกลางแนวกำแพงเมืองด้านตะวันออกขนานไปกับแนวสันเขาสูงชัน ด้านตะวันตกสร้างอยู่บนลาดเนินเขา พื้นที่เมืองโบราณเวียงกาหลงมีทั้งหมดประมาณ ๔๓๐.๙๓๗๕ ไร่ คูเมืองและกำแพงคันดินโดยรอบยาว ๓,๓๕๐ เมตรหลักฐานที่พบคูเมืองและกำแพงคันดิน คูเมืองเมืองโบราณเวียงกาหลงขุดเป็นรูปคล้ายตัววี กว้างประมาณ ๑๘ เมตรลึก ๘.๘๐ เมตร กำแพงเมืองเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคูเมืองตรงกลางขึ้นมาถมทั้งสองข้าง กำแพงเมืองชั้นในสูงกว่าด้านนอก ไม่พบว่ามีการใช้วัสดุอื่นมาช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงของกำแพงเมืองเลยในการสำรวจและขุดค้นในแหล่งโบราณคดีเมืองโบราณเวียงกาหลง พบโบราณวัตถุต่างๆ มากมายจำแนกเป็นโบราณวัตถุที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Finds) เช่น เศษภาชนะดินเผา เศษกระเบื้องดินเผา อิฐ เบี้ยดินเผาดินเผาไฟ เครื่องมือเหล็ก หินลับมีด เป็นต้น และโบราณวัตถุที่ไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Non Finds) เช่น ถ่านไม้กระดูกสัตว์ ดินเผาไฟ ขี้แร่ เป็นต้นเส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณเวียงกาหลงจากจังหวัดเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๙ ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนสายแม่ขะจาน-วังเหนือ ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร

ความเชื่อ การส่งเคราะห์ ภาคเหนือ

ช่วงเวลา ทำในเวลาเช้า ไม่กำหนดวันความสำคัญการส่งเคราะห์เกิดจากพื้นฐานความเชื่อว่า เหตุผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเคราะห์ร้าย จำเป็นต้องขจัดปัดเป่า ซึ่งหากกระทำแล้วจะทำให้ชีวิตกลับสู่ภาวะปกติพิธีกรรมผู้ทำพิธีหรือ อาจารย์ จัดเครื่องบูชาประกอบด้วย ตุง (จำนวน ๓,๖,๙ หรือ ๑๒ ตัว) รูปปั้นดินเหนียวรูปคน สัตว์ต่าง ๆ กล้วย อ้อย หมาก พริก บุหรี่ ข้าวสุก อาหารคาว ของหวาน ทั้งหมดจะนำใส่สะตวง (เครื่องบัดพลี) แล้วนำไปยังทางสามแพร่ง จุดธูปเทียนบูชาแล้ววางสะตวงทิ้งไว้ เป็นเสร็จพิธีผู้ขอทำพิธีจะมีขันตั้ง ซึ่งประกอบด้วย หมาก พลู ผ้าขาว เหล้า ๑ ขวด และค่าขันตั้งครู (แล้วแต่จะกำหนด)สาระความเชื่อนี้ทำให้คนไม่ละเมิดล่วงเกินธรรมชาติ และมีผลทางจิตวิทยาคือทำให้กำลังใจของผู้เข้าทำพิธีส่งเคราะห์ดีขึ้น

แหล่งที่มา : http://www.prapayneethai.com/th/belief/north/view.asp?id=0319

การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง ภาคเหนือ



อุปกรณ์และวิธีการเล่นอุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวนการเล่นวิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุดไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะพยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทางจมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อเช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกมนั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดยใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)โอกาสหรือเวลาที่เล่นเป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัดคุณค่า / แนวคิด / สาระเป็นการเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลางศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภาคเหนือ


ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ในหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึง มีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว
ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขาสลับกับ ที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน "วัฒรธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่างอยู่ถัดจากแนวทิวเขา ลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโทัยได้รวมเข้ากับกรุงศีรอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมือง ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ แบบไทยภาคกลาง
ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้เข้ามา อยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงิน ทอผ้า และปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม
อาหารของชาวภาคเหนือแบ่งได้หลายประเภท หากเป็นภาคเหนือตอนล่างจะรับประทานข้าวเจ้าและกับข้าวที่ปรุงคล้ายกับชาวภาคกลาง ถ้าเป็นไทยล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวกับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู แนมด้วยแคบหมูและผักสด นอกจากนี้มีผักกาดจอ ลาบหมู ลาบเนื้อ แกงฮังเล แกงโฮะ จิ้นส้ม(แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว สำหรับชาวไทยภูเขามีพริกเกลือจิ้มข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก จะรับประทานหมูและไก่เฉพาะ ในช่วงเทศกาล
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง ผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มผ้า สไบทับ และเกล้าผม ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน นุ่งกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่าและมีผ้าโพกศรีษะ บ้างก็สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้า คาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่ไพเราะนุ่มนวล หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม ชาวเหนือยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่งดงามหลายอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึง ทุกวันนี้ ในภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในกลุ่มของวัฒนธรรมล้านนานั้น ตามปกติมักจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน หากนับจากเดือนยี่ของ ปฏิทินทางเหนือ หรือประมาณ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว มีการทำบุญ "ทอดกฐิน" มีประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง มีการ "ตามผางผะติ้ป"(ตามประทีป) ประเพณี นี้ชาวภาคเหนือตอนล่างเรียกว่า พิธีจองเปรียงหรือลอยโขมด เป็นงานที่จัดกันจนขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตากในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในเดือนนี้จะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว"ข้าวปี"ส่วนในเดือน 4 ซึ่งตรงกับ เดือนมกราคมจะมีการ "ตามข้ามจี่หลาม" และทำบุญขึ้นเรือนใหม่ ถัดมา ตั้งแต่เดือน 7 เดือน 8 และเดือน 9 ซึ่งเป็นฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีงานประเพณีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเลี้ยงผี (หรือการฟ้อนผี) ปอยหลวง และไหว้พระธาตุ เนื่องจาก เป็นช่วงว่างจากการทำนา ทำไร่
นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางภาคเหนือตอนบนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านต่างพากันทำบุญตักบาตรและสาดน้ำกัน เป็นที่ สนุกสนาน รวมทั้งมีงานเทศกาลประเพณีแท้ ๆ ของท้องถิ่น เช่น ปอยหลวง ตานตุง ปอยเหลินสิบเอ็ด งานหลวงเวียงละกอน ปอยบวชลูกแก้ว ประเพณีบอกไฟขึ้นหรือ จุดบั้งไฟ ตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีปักธง งานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการ สั่งสมทางวัฒนธรรมมาช้านาน
นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง
ลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฎในภาคนี้มีให้เห็นทั่วไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์ทรงกลม บนยอดดอย และหลังคาโบสถ์ทรงสูงย่อมุม เช่น วัดจอมสวรรค์และวัดสระบ่อแก้ว ที่จังหวัดแพร่ พระธาตุดอยกองมู วัดจองสูง วัดศรีบุญเรือง วัดกิตติวงศ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยงมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่า และตุ๊กตาไม้แกะสลักที่งดงามอีกมาก


แหล่งที่มา : http://blog.spu.ac.th/51009300/2008/07/01/entry-1

ภาคเหนือ



แหล่งที่มา : http://www.youtube.com

free counters