วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภาคเหนือ


ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ในหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึง มีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว
ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขาสลับกับ ที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน "วัฒรธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่างอยู่ถัดจากแนวทิวเขา ลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโทัยได้รวมเข้ากับกรุงศีรอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมือง ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ แบบไทยภาคกลาง
ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้เข้ามา อยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงิน ทอผ้า และปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม
อาหารของชาวภาคเหนือแบ่งได้หลายประเภท หากเป็นภาคเหนือตอนล่างจะรับประทานข้าวเจ้าและกับข้าวที่ปรุงคล้ายกับชาวภาคกลาง ถ้าเป็นไทยล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวกับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู แนมด้วยแคบหมูและผักสด นอกจากนี้มีผักกาดจอ ลาบหมู ลาบเนื้อ แกงฮังเล แกงโฮะ จิ้นส้ม(แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว สำหรับชาวไทยภูเขามีพริกเกลือจิ้มข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก จะรับประทานหมูและไก่เฉพาะ ในช่วงเทศกาล
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง ผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มผ้า สไบทับ และเกล้าผม ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน นุ่งกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่าและมีผ้าโพกศรีษะ บ้างก็สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้า คาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่ไพเราะนุ่มนวล หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม ชาวเหนือยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่งดงามหลายอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึง ทุกวันนี้ ในภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในกลุ่มของวัฒนธรรมล้านนานั้น ตามปกติมักจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน หากนับจากเดือนยี่ของ ปฏิทินทางเหนือ หรือประมาณ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว มีการทำบุญ "ทอดกฐิน" มีประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง มีการ "ตามผางผะติ้ป"(ตามประทีป) ประเพณี นี้ชาวภาคเหนือตอนล่างเรียกว่า พิธีจองเปรียงหรือลอยโขมด เป็นงานที่จัดกันจนขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตากในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในเดือนนี้จะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว"ข้าวปี"ส่วนในเดือน 4 ซึ่งตรงกับ เดือนมกราคมจะมีการ "ตามข้ามจี่หลาม" และทำบุญขึ้นเรือนใหม่ ถัดมา ตั้งแต่เดือน 7 เดือน 8 และเดือน 9 ซึ่งเป็นฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีงานประเพณีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเลี้ยงผี (หรือการฟ้อนผี) ปอยหลวง และไหว้พระธาตุ เนื่องจาก เป็นช่วงว่างจากการทำนา ทำไร่
นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางภาคเหนือตอนบนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านต่างพากันทำบุญตักบาตรและสาดน้ำกัน เป็นที่ สนุกสนาน รวมทั้งมีงานเทศกาลประเพณีแท้ ๆ ของท้องถิ่น เช่น ปอยหลวง ตานตุง ปอยเหลินสิบเอ็ด งานหลวงเวียงละกอน ปอยบวชลูกแก้ว ประเพณีบอกไฟขึ้นหรือ จุดบั้งไฟ ตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีปักธง งานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการ สั่งสมทางวัฒนธรรมมาช้านาน
นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง
ลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฎในภาคนี้มีให้เห็นทั่วไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์ทรงกลม บนยอดดอย และหลังคาโบสถ์ทรงสูงย่อมุม เช่น วัดจอมสวรรค์และวัดสระบ่อแก้ว ที่จังหวัดแพร่ พระธาตุดอยกองมู วัดจองสูง วัดศรีบุญเรือง วัดกิตติวงศ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยงมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่า และตุ๊กตาไม้แกะสลักที่งดงามอีกมาก


แหล่งที่มา : http://blog.spu.ac.th/51009300/2008/07/01/entry-1

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

free counters